มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 1 เทวสันนิบาต)

ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป https://dmc.tv/a6778

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 9 มิ.ย. 2553 ] - [ ผู้อ่าน : 18278 ]
ม ห า โ ค วิ น ท สู ต ร
( ต อ น ที่  ๑  เ ท ว สั น นิ บ า ต )



 
     ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป

     การสร้างบารมีเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน เป็นการก้าวตามเส้นทางของพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย และเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดของชีวิต พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายต่างตั้งใจสั่งสมบารมีทุกรูปแบบ ทั้งทาน ศีลและภาวนา ไม่เคยขาดตกบกพร่องในการสั่งสมบุญ การที่เราสามารถบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือบรรลุมรรคผลนิพพาน กระทั่งได้ถึงที่สุดแห่งธรรม เราต้องดำเนินตามรอยบาทของท่านผู้รู้เหล่านั้น มุ่งหน้าสร้างบารมีจนกว่าบารมี ๓๐ ทัศ จะเต็มเปี่ยมบริบูรณ์

    มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน พระวินัยปิฎก จุลวรรค ว่า

    " สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี     สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
    สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ         โยคกฺเขมา น ธํสติ
    สงฺฆํ สมคฺคํ กตฺวาน         กปฺปํ สคฺคมฺหิ โมทติ

    ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป "

    ที่ใดมีความสามัคคี ที่นั่นย่อมมีความสุขความเจริญ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความพร้อมเพรียงของหมู่ เพราะทำให้เกิดสุข ดังนั้นพระพุทธองค์จะตรัสถึงความสามัคคีอยู่เนืองๆ แม้แต่ในเรื่องอปริหานิยธรรม ธรรมที่จะทำให้ไม่เสื่อมจากความเจริญ พระองค์จะตรัสถึงความพร้อมเพรียงในการทำกิจร่วมกันของสงฆ์ ตั้งแต่เริ่มประชุมก็พร้อมเพรียงกัน เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก เป็นต้น

    * ความพร้อมเพรียงนี้ ไม่ใช่จะก่อให้เกิดความสุขเฉพาะในหมู่มนุษย์เท่านั้น แม้ในหมู่ของเทวดาทั้งหลาย ต่างประชุมกันอยู่เสมอๆ ครั้งนี้ หลวงพ่อได้นำเรื่องราวในมหาโควินทสูตร มาให้ทุกท่านได้ศึกษากัน เป็นเรื่องการสร้างบารมีอีกภพชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์ เหตุที่พระบรมศาสดาตรัสถึงเรื่องนี้ เพราะเมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏใกล้   กรุงราชคฤห์ หลังเที่ยงคืนของคืนหนึ่ง ปัญจสิขคนธรรพ์เทพบุตรได้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง รัศมีของปัญจสิขะนั้นงดงามส่องสว่างไปทั่วเขาคิชฌกูฏ หลายท่านคงเคยได้ยินชื่อปัญจสิขะมานาน หลวงพ่อขอถือโอกาสเล่าประวัติของท่านสักเล็กน้อย

    คำว่า ปัญจสิขะ นั้นแปลว่า มี ๕ จุก หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า มี ๕ แหยม ปัญจสิขคนธรรพ์เทพบุตรนั้น ตอนที่เป็นมนุษย์ ได้สร้างบารมีตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และไว้จุก ๕ จุก เป็นหัวหน้าเด็กเลี้ยงโค มีความคิดเกินเด็กทั้งหลาย ได้ชักชวนเด็กๆ ว่า การที่เราจะเล่นสนุกไปวันหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระแก่นสาร ควรสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเท่าที่เราจะทำได้ จะได้เป็นการสร้างบุญให้กับตนเองด้วย

    เมื่อชวนเพื่อนๆ แล้ว เขาเป็นผู้นำพาพวกเด็กสร้างศาลาในทางสี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ปรับทางขรุขระให้เรียบ ขนไม้มาทำเพลา และทำยานพาหนะเพื่อสาธารณประโยชน์ แต่เขาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ครั้นตายแล้ว ได้ไปเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีอายุ ๙ ล้านปี ร่างของปัญจสิขเทพบุตร มีลักษณะคล้ายกับกองทองสุกสว่างมีขนาดเท่า ๓ คาวุต

    ปัญจสิขเทพบุตรนั้น เป็นกายทิพย์มีเครื่องประดับที่งดงามมาก ประมาณ ๖๐ เล่มเกวียน พรมด้วยของหอมประมาณ ๙ หม้อ ทรงผ้าทิพย์สีแดง ประดับดอกกรรณิกาทอง มีแหยม ๕ แหยมห้อยอยู่ข้างหลัง เทวดาทั้งหลายจึงพากันเรียกว่า ปัญจสิขเทพบุตร นี่คือที่มาที่ไปของปัญจสิขเทพบุตร

    เมื่อปัญจสิขคนธรรพ์เทพบุตรยืนในที่สมควรแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเหตุการณ์ที่เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ประชุมพร้อมกัน ที่สุธรรมาเทวสภาในวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ และยังมีทิพยบริษัททั้งหลายมานั่งล้อมรอบ ซึ่งพื้นทองของสุธรรมาเทวสภามีความยาว และความกว้างด้านละ ๓๐๐ โยชน์ สูง ๕๐๐ โยชน์ ในมหาสมาคมนั้น จะมีมหาราชทั้ง ๔ องค์ นั่งประจำทิศทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรฐราชาแห่งคนธรรพ์ ซึ่งแวดล้อมด้วยทวยเทพ นักฟ้อน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ประทับนั่งทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกเป็นราชาแห่งครุฑ มีครุฑ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ แวดล้อม ประทับนั่งทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ผู้เป็นราชาแห่งนาค มีพวกนาค ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิแวดล้อม ประทับนั่งทางทิศตะวันตก และท้าวเวสสวัณราชาแห่งยักษ์ มียักษ์ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิแวดล้อม ประทับนั่งทางทิศเหนือ

    การเกิดเทวสันนิบาตนี้จะมีเหตุอยู่ ๔ อย่าง คือ ประการแรก วันเข้าพรรษา จะประชุมกันเพื่อดูแลรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมในช่วงเข้าพรรษา ประการที่ ๒ ประชุมกันในวันมหาปวารณา เหตุการณ์เหมือนในเมืองมนุษย์ ที่ภิกษุทั้งหลาย ประชุมกันในวันเพ็ญวันมหาปวารณา โดยท้าวสักกะจะทรงปวารณาในปิยังคุทีปพระมหาวิหาร เทพที่เหลือจะถือดอกไม้ทิพย์ มีดอกปาริฉัตรเป็นต้น และผงจันทน์ทิพย์ไปยังที่ชอบใจและก็ปวารณากัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้

    ประการที่ ๓ เทวดาจะประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่การเสวยปาริฉัตตกกรีฑา คือการประชุมกันในคราวที่ต้นปาริฉัตรออกดอก เพราะดอกปาริฉัตรนี้มีกลิ่นหอมครอบคลุม ๕๐ โยชน์ กลิ่นที่ลมพัดจะไปได้ถึง ๑๐๐ โยชน์ ที่สุธรรมาเทวสภานี้ ตรงกลางจะมีธรรมาสน์ มีบัลลังก์แก้วสูง ๑ โยชน์ มีเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ถัดจากบัลลังก์นั้นเป็นอาสนะท้าวสักกเทวราช ถัดจากนั้นเป็นอาสนะของเทพบุตรอีก ๓๓ ตน ถัดจากนั้นอีกเป็นอาสนะของเทพบุตรผู้มีศักดิ์ใหญ่ ส่วนเทวดานอกเหนือจากนี้จะใช้ฝักดอกไม้เป็นอาสนะ

    ประการสุดท้ายของการประชุมในเทวโลก คือเทวดาจะป่าวประกาศการฟังธรรมครั้งใหญ่เดือนละ ๘ วัน ในวันทั้ง ๘ จะมีสนังกุมารมหาพรหม หรือท้าวสักกะ ภิกษุธรรมกถึก หรือเทพบุตรธรรมกถึกองค์ใดองค์หนึ่ง มากล่าวธรรมิกถาในสุธรรมาเทวสภาการประชุมครั้งนี้จะแบ่งหน้าที่กันทำ คือ ในวัน ๘ ค่ำของปักษ์ จะเป็นหน้าที่ของอำมาตย์ของมหาราชทั้ง ๔ องค์ ในวัน ๑๔ ค่ำ จะเป็นหน้าที่ของโอรสทั้งหลายของท้าวสักกะ  ในวัน ๑๕ ค่ำ จะเป็นของมหาราชทั้ง ๔ องค์ ซึ่งท่านเหล่านี้จะเสด็จออกไปตามคามนิคมและราชธานี จดบันทึกไว้บนแผ่นทอง ว่ามีหญิงหรือชายชื่ออะไร มากมายขนาดไหน ที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งใจสร้างบารมีประพฤติยึดมั่นกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

    จากนั้นจะนำแผ่นทองมามอบถึงมือของปัญจสิขะ ปัญจสิขะจะส่งถึงมือของมาตลีเทพบุตร มาตลีเทพบุตรีจะถวายแด่ท้าวสักกเทวราช เมื่อจำนวนคนทำบุญมีไม่มาก สมุดบัญชีลานทอง ก็น้อย พวกเทวดาเห็นลานทองเท่านั้น พากันเสียใจว่า มหาชนตกอยู่ในความประมาท อบายทั้ง ๔ จักเต็ม เทวโลก ๖ ชั้น จักว่างเปล่า แต่ถ้าแผ่นลานทองหนา พวกเทวดาเห็นแล้วก็พากันดีใจว่า พวกเราจักได้ห้อมล้อมผู้มีบุญใหญ่ที่ได้ทำบุญไว้ในพระพุทธศาสนา แล้วมาเล่นนักษัตรด้วยกัน เทวดาทั้งหลายย่อมประชุมกันเพื่อประโยชน์ดังนี้

    จะเห็นว่า เหล่าเทวดาเห็นคุณค่าของบุญมาก การที่เราสร้างบุญในแต่ละครั้ง ไม่เพียงมีผลแค่ตัวเราเองเท่านั้น แต่ยังมีผลไปถึงเทวโลกผู้มีกายทิพย์ ที่รับรู้ คอยอนุโมทนาบุญกับเรา การทำความดีในแต่ละครั้งมีผลต่อโลกต่อจักรวาลและสรรพสัตว์ทั้งหลาย คราวต่อไปหลวงพ่อจะนำเรื่องราวของมหาโควินทโพธิสัตว์มาเล่าให้ฟังต่อ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนากันให้ดี หมั่นตรึกหมั่นนึกถึงธรรมะ ตรึกถึงองค์พระให้ใสๆ เวลาหลับให้หลับในกลางดวงธรรมหรือกลางองค์พระ จะได้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ทั้งยังได้บุญอีกด้วย ทำอย่างนี้ถูกหลักวิชชา จะทำให้เราประสบความสุขความสำเร็จในชีวิตตลอดไปทุกภพทุกชาติตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม 
 
พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 
* มก. มหาโควินทสูตร เล่ม ๑๔ หน้า ๑
 
 

http://goo.gl/G6PFc


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related